Page 5 - พิพิธภัณฑ์ดิจิทัลกลุ่มชาติพันธ์ในล้านนา
P. 5










คลังภูมิปัญญาดิจิทัล : กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา


ดร.กรด เหล็กสมบูรณ์

ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและสื่อดิจิทัลล้านนา
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส ารวจ ศึกษา รวบรวมข้อมูลความรู้ภูมิปัญญาในด้านการ
รักษาพื้นบ้านโดยหมอพื้นบ้านล้านนา เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาการรักษาพื้นบ้านให้เป็นข้อมูลรูปแบบ
ดิจิทัล และเพื่อพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา ผู้ให้ข้อมูลหลัก

ได้แก่ หมอพื้นบ้านล้านนา กลุ่มเป้าหมายคือ บุคคลที่สนใจเข้าเยี่ยมชมคลังภูมิปัญญาดิจิทัล
กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดอุปกรณ์ถ่ายภาพ

ชุดอุปกรณ์ถ่ายวิดีทัศน์ 2) แบบสัมภาษณ์ 3) คลังภูมิปัญญาดิจิทัล กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้าน
ล้านนา 4) แบบสอบถาม ข้อมูลความรู้ภูมิปัญญาการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา วิเคราะห์โดยใช้
การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลการใช้คลังภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา

วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
การส ารวจ ศึกษา รวบรวมข้อมูลความรู้ภูมิปัญญาในด้านการรักษาพื้นบ้านโดยหมอพื้นบ้าน

ล้านนา ได้แก่ การรักษาด้วยพิธีกรรม มี 4 ข้อมูล วิดีทัศน์ 4 เรื่อง การรักษาด้วยกายบ าบัด มี 3 ข้อมูล
วิดีทัศน์ 3 เรื่อง และการรักษาด้วยอาหารและสมุนไพร มี 3 ข้อมูล วิดีทัศน์ 2 เรื่อง

คลังภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา ประกอบด้วยคลังข้อมูล
จ านวน 4 คลัง แยกตามจังหวัด น าเสนอในรูปแบบเว็บไซต์ (Responsive Website) มีระบบการ

ค้นหา คือ ระบบค้นหาตามหมวดและระบบค้นหาตามพื้นที่ รวมถึงได้มีการพัฒนาหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ และแอพพลิเคชั่น ส าหรับการเผยแพร่และเข้าถึงคลังภูมิปัญญาดิจิทัล
การประเมินการใช้คลังภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา ด้านการ

ออกแบบและจัดรูปแบบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.35 ประเด็นที่มี

ค่าเฉลี่ยมากใน 3 อันดับแรก คือ ความสวยงามและน่าสนใจของคลังภูมิปัญญาดิจิทัล รองลงมาคือ
การเลือกใช้สื่อมัลติมิเดียเหมาะสมกับเนื้อหา และการจัดสัดส่วนของเนื้อหาและภาพประกอบมีความ

เหมาะสม ส าหรับด้านเนื้อหาโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.33 ประเด็นที่มี

ค่าเฉลี่ยมากใน 3 อันดับแรก คือ การจัดหมวดหมู่เนื้อหาง่ายต่อการค้นหาและเรียนรู้ รองลงมาคือ
ความสะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูลภายในคลังข้อมูล และการจัดล าดับเนื้อหาเป็นขั้นตอน มีความ

ต่อเนื่อง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10