Page 31 - พิพิธภัณฑ์ดิจิทัลกลุ่มชาติพันธ์ในล้านนา
P. 31
21
ขั้นที่ 4 กำรน ำเสนอเผยแพร่ข้อมูล และกำรประเมินผล
1. น าเสนอและเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ภูมิปัญญาด้านการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
ในรูปแบบ คลังภูมิปัญญาดิจิทัล โดยเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็ปไซด์ที่ http://www.lanna-e-
healer.com/
2. การประเมินผลคลังภูมิปัญญาดิจิทัล กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนาโดย
ให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคคลที่สนใจเข้าเยี่ยมชมคลังภูมิปัญญาดิจิทัล กระบวนการรักษาโดยหมอ
พื้นบ้านล้านนา ตอบแบบสอบถามออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ “คลังภูมิปัญญาดิจิทัล กระบวนการรักษา
โดยหมอพื้นบ้านล้านนา” โดยก าหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเป็นระยะเวลา
1 เดือน และก าหนดจ านวนกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 300 คน หากจ านวนไม่ถึงเกณฑ์ที่ก าหนด จะ
ขยายเวลาเพิ่มอีก 15 วัน และประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและสื่อดิจิทัลล้านนา
เว็บไซต์สถาบันวิจัยสังคม และเว็บไซต์เครือข่าย เช่น เว็บไซต์สภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา เว็บไซต์
สภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน เว็บไซต์สภาวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฯลฯ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์
ต่าง ๆ เช่น Facebook Line YouTube เป็นต้น
กำรจัดกำรข้อมูล กำรวิเครำะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
1. ข้อมูลความรู้กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีทัศน์และการสัมภาษณ์ น ามาจ าแนก จัดหมวดหมู่
วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วสรุปร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นน าไปตัดต่อ เพิ่มเนื้อหา ทดสอบการใช้งาน แล้วน าไปใช้ในการพัฒนาคลัง
ภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
แอพพลิเคชั่น (Application) และเว็บไซต์
2. ข้อมูลการประเมินคลังภูมิปัญญาดิจิทัล กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
ข้อมูลจากแบบสอบถามการใช้คลังภูมิปัญญาดิจิทัล กระบวนการรักษาโดยหมอ
พื้นบ้านล้านนา วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน
และการแปลผลการประเมินดังนี้
เกณฑ์การให้คะแนน
เห็นด้วยมากที่สุด ให้ 5 คะแนน
เห็นด้วยมาก ให้ 4 คะแนน
เห็นด้วยปานกลาง ให้ 3 คะแนน
เห็นด้วยน้อย ให้ 2 คะแนน
เห็นด้วยน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน