Page 11 - พิพิธภัณฑ์ดิจิทัลกลุ่มชาติพันธ์ในล้านนา
P. 11
บทที่ 1
บทน ำ
หลักกำรและเหตุผล
สังคมภาคเหนือของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า ล้านนา หมายถึงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ
ตอนบนของไทย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดล าพูน จังหวัดล าปาง จังหวัดเชียงราย
จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์
ความเป็นมายาวนาน เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรล้านนาในอดีต ล้านนาประกอบด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ไทหลายกลุ่ม เช่น ชาวไทยวน ชาวไทลื้อ ชาวไทยอง ชาวไทเขิน ชาวไทใหญ่ ซึ่งแต่ละ
กลุ่มแม้จะมีลักษณะความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตน ทั้งในด้านศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี รวมถึงระบบรักษาพื้นบ้าน
การรักษาความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งอาจจ าเป็นต้องใช้แนวคิดในการอธิบายและรักษา
มากกว่าหนึ่งอย่าง ทั้งการใช้ความรู้เกี่ยวกับธาตุทั้งสี่ การใช้ยาสมุนไพร การใช้ความเชื่อเรื่องภูตผี
การใช้เวทมนต์คาถา และการใช้ความเชื่อทางพุทธศาสนา การรักษาความเจ็บป่วยของชาวไทย
ภาคเหนือจึงต้องอาศัยความรู้ที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
วัฒนธรรม ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดการรักษาพื้นบ้านเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ซึ่งบุคคล
จะเลือกวิธีหรือมีพฤติกรรมในการรักษาโรคโดยผ่านความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุในการเกิดโรค เช่น หาก
บุคคลนั้นเชื่อว่าสาเหตุการเกิดโรคมาจากกระบวนการทางธรรมชาติของสรีระร่างกาย ก็จะเลือก
วิธีการรักษาโดยการกินยาสมุนไพร การนวด การทายา หรือหากบุคคลนั้นเชื่อว่าสาเหตุความป่วยมา
จากมีคนท าคุณไสย์ มนต์ด าใส่ เขาก็จะเลือกการรักษาโดยการใช้เวทมนต์คาถาต่อต้าน เป็นต้น
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าสังคมวัฒนธรรมมีส่วนส าคัญในการอธิบายสาเหตุและก าหนดวิธีการรักษาโรค
ยุคปัจจุบันที่สังคมได้พัฒนาให้มีความสมัยใหม่ การแพทย์สมัยใหม่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อ
การเยียวยารักษาสุขภาพของผู้คนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่าการรักษาพื้นบ้านและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสุขภาพยังคงถูกใช้อยู่ เสมือนเป็นระบบการแพทย์ที่คอยให้การสนับสนุนทาง
จิตใจซึ่งตรงกับโลกทัศน์ของคนในท้องถิ่น รวมทั้งรองรับผู้ป่วยที่ไม่ประสบความส าเร็จจากระบบ
การแพทย์สมัยใหม่ แล้วจึงมองหาการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ
ในสภาวการณ์ที่โลกได้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ท าให้มีการเลื่อนไหลของคนและข้อมูลต่าง ๆ
กลุ่มผู้รักษาพื้นบ้านก็ไม่ได้หยุดนิ่งหรือแช่แข็งความรู้ของตนเองไว้ที่เดิม บางส่วนได้มีการหยิบยืม
ปรับเปลี่ยนและผสมผสานองค์ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ความรู้แบบ
แพทย์แผนจีน ความรู้แบบการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย เป็นต้น ท าให้กลุ่มผู้รักษาพื้นบ้านใน
ปัจจุบันสามารถตอบสนองและให้บริการแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม โดยมีการอธิบายเรื่องความ