Page 13 - พิพิธภัณฑ์ดิจิทัลกลุ่มชาติพันธ์ในล้านนา
P. 13
3
ประโยชน์ที่ได้รับจำกกำรวิจัย
1. ได้ข้อมูลความรู้ภูมิปัญญาในด้านการรักษาพื้นบ้านโดยหมอพื้นบ้านล้านนาในรูปแบบ
ดิจิทัล
2. ได้คลังภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
3. ได้สื่อดิจิทัลประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลภูมิปัญญาการรักษา
พื้นบ้านโดยหมอพื้นบ้านล้านนา ประกอบด้วย เว็บไซต์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และแอพพลิเคชั่น
4. ได้เครือข่ายระหว่างหมอพื้นบ้าน ชุมชนและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการจัดท าคลัง
ภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการรักษาพื้นบ้านโดยหมอพื้นบ้านนล้านนา 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ น่าน
พะเยา และแม่ฮ่องสอน
นิยำมศัพท์เฉพำะ
คลังภูมิปัญญำดิจิทัล (Digital Wisdom Archives) หมายถึง แหล่งหรือพื้นที่ที่รวบรวม
ข้อมูลภูมิปัญญา โดยแสดงเป็นข้อมูลดิจิทัลในลักษณะต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย วิดีทัศน์ และข้อมูล
กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา การวิจัยครั้งนี้หมายถึง คลังภูมิปัญญาดิจิทัลกระบวนการ
รักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
ภูมิปัญญำ หมายถึง องค์ความรู้ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยเป็นความรู้ที่เกิดจาก
ประสบการณ์ ซึ่งผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์และตกผลึกเป็นองค์ความรู้ เกี่ยวเนื่อง
กับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน มีการสืบทอดจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง เป็น
ความรู้ที่มีการปรับประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพของสังคมในแต่ละช่วงเวลา ใน
การศึกษาครั้งนี้หมายถึงภูมิปัญญาด้านการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
ข้อมูลดิจิทัล หมายถึง ข้อเท็จจริง สิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล
สิ่งของหรือเหตุการณ์ ที่แสดงออกในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือกิจกรรม
ต่าง ๆ ซึ่งมีความหมายเฉพาะ โดยได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) ด้วยการใช้
เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการวิจัยนี้หมายถึงข้อมูลด้านการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่พัฒนาด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ท าให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้
สะดวกรวดเร็วในทุกที่ทุกเวลา การวิจัยครั้งนี้หมายถึง เว็บไซต์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และ
แอพพลิเคชั่น (Application) ของกระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา
กำรรักษำพื้นบ้ำน หมายถึง วิธีการดูแล การป้องกัน และรักษาสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้
เจ็บต่าง ๆ ในชุมชนหรือสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งเน้นการรักษาแบบองค์รวมโดยใช้พิธีกรรม เช่น พิธี
สู่ขวัญ สืบชาตา พิธีเป่า พิธีแหก การใช้กายบ าบัด เช่น การนวด การตอกเส้น การใช้อาหารและ
สมุนไพร เช่น ลูกประคบ ยาต้ม