Page 15 - พิพิธภัณฑ์ดิจิทัลกลุ่มชาติพันธ์ในล้านนา
P. 15
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โครงการคลังภูมิปัญญาดิจิทัล กระบวนการรักษาโดยหมอพื้นบ้านล้านนา ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. การรักษาพื้นบ้านในสังคมไทยภาคเหนือ
2. ระบบคลังข้อมูล
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4. กรอบแนวคิดการวิจัย
การรักษาพื้นบ้านในสังคมไทยภาคเหนือ
วิธีการป้องกันหรือรักษาความเจ็บป่วยทางจิตใจของผู้คนในสังคมไทยภาคเหนือ
ในสังคมไทยภาคเหนือพบว่ามีมุมมองต่อความเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจในลักษณะที่
ไม่ได้แยกจากกัน ความเจ็บป่วยที่มีอาการต่างกันหรือเป็นโรคต่างกัน อาจจะมีสาเหตุเดียวกัน และมี
วิธีการเยียวยารักษาแบบเดียวกัน โดยวิธีการเยียวยาความเจ็บป่วยอาจจะใช้มากกว่า 1 วิธี เนื่องจาก
ต้องมีการเยียวยาทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน
งานศึกษาที่รวบรวมวิธีการดูแลสุขภาพของคนในสังคมภาคเหนือของยิ่งยง เทาประเสริฐ
(2546) ได้น าเสนอวิธีการดูแลสุขภาพไว้ 4 วิธีการ ได้แก่ พิธีกรรม กายบ าบัด สมุนไพร และอาหาร
การกิน โดยมีรายละเอียดในแต่ละวิธีการดังต่อไปนี้
วิธีการรักษาสุขภาพด้วยพิธีกรรม
วิธีการรักษาสุขภาพด้วยพิธีกรรมเป็นการตรวจสอบเหตุปัจจัยแห่งความไม่สบายและท า
การบ าบัดให้อาการบรรเทาลง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างก าลังใจให้ผู้ป่วยยอมรับสภาพความเป็น
จริงและท าจิตใจให้สงบลง โดยมีพิธีกรรมหลายกลุ่มย่อย ได้แก่ 1) กลุ่มดูเมื่อและท านายฤกษ์ยาม
เป็นการใช้โหราศาสตร์เพื่อตรวจดูดวงชะตาของผู้ป่วย และดูฤกษ์เวลาที่จะเริ่มท าพิธีกรรมหรือ
เริ่มต้นท าสิ่งใหม่ ๆ พิธีกรรมดูเมื่อและท านายฤกษ์ยามเป็นผลมาจากความเชื่อว่าชีวิตมนุษย์ถูก
ก าหนดด้วยดวงชะตา 2) กลุ่มขจัดปัดเป่า จะท าหลังจากการดูดวงชะตา โดยหมอดูจะแนะน าวันและ
เวลาให้เริ่มท าพิธีกรรมขจัดปัดเป่า เช่น ส่งเคราะห์ บูชาเทียน รดน้ ามนต์ เป็นต้น 3) กลุ่มสร้างขวัญ
ก าลังใจ มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ จ๊อย/ซอ ส่งปู่แถน-ย่าแถน แกว่งข้าว ฮ้องขวัญ/สู่ขวัญ 4) กลุ่มเจริญสติ
และท าใจ เช่น ท าสมาธิ ฟังเทศนาธรรม เป็นต้น 5) กลุ่มสร้างความร่มเย็นและเป็นสิริมงคล เช่น การ