Page 21 - พิพิธภัณฑ์ดิจิทัลกลุ่มชาติพันธ์ในล้านนา
P. 21
11
2. พื้นที่พักข้อมูลเนื่องจากข้อมูลที่มาจากระบบปฏิบัติงานขององค์กร อาจมีความ
หลากหลายทั้งในแง่ของมาตรฐานและวิธีการจัดเก็บ และอาจมีความซ้ าซ้อนกัน ดังนั้น ข้อมูลจาก
แหล่งข้อมูลจ าเป็นต้องถูกปรับให้เข้ากับมาตรฐานของคลังข้อมูลก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในคลังข้อมูล
ดังนั้นคลังข้อมูลจึงจ าเป็นต้องพื้นที่พักข้อมูลซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ท าหน้าที่เป็นที่พักข้อมูล ขณะที่ถูก
ปรับให้เข้ากับมาตรฐานของคลังข้อมูล
3. ดาต้ามาร์ท เนื่องจากฐานข้อมูลคลังข้อมูลมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจขององค์กรให้ครบถ้วนถูกต้อง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวอาจท าให้ข้อมูลในฐานข้อมูล
คลังข้อมูลมีรูปแบบไม่เหมาะสมต่อการใช้งานหรือน ามาวิเคราะห์ได้ยาก จึงต้องมีดาต้ามาร์ท เพื่อ
เป็นพื้นที่ส าหรับจัดเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการน าไปใช้งาน
การพัฒนาคลังข้อมูล
การจ าแนกประเภทของการพัฒนาจะ พิจารณาจากลักษณะและล าดับเวลา ก่อน-หลัง มี
3 วิธี คือ การพัฒนาคลังข้อมูลด้วยหลักการพัฒนาจากบนลงล่าง การพัฒนาคลังข้อมูลด้วยหลักการ
พัฒนาจากล่างขึ้นบน และการพัฒนาด้วยหลักการผสม
1. การพัฒนาคลังข้อมูลด้วยหลักการพัฒนาจากบนลงล่าง (Top-Down Data
Warehouse Development) เป็นหลักการที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรมแบบรวม จะท าให้
ได้คลังข้อมูลรวมของทั้งองค์กรในคราวเดียว โดยวิธีพัฒนาจะเริ่มจากการวิเคราะห์องค์กรธุรกิจและ
ออกแบบ แบบจ าลองข้อมูลที่เป็นภาพรวมแล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลน าเข้าและผลลัพธ์ เพื่อการ
ออกแบบและสร้างดาตามาร์ทต่อไป
2. การพัฒนาคลังข้อมูลด้วยหลักการพัฒนาจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up Data
Warehouse Development) ตรงกันข้ามกับแนวทางบนลงล่าง การวิเคราะห์และออกแบบเพื่อ
สร้างคลังข้อมูลจะเริ่มด้วยวิธีการวิเคราะห์และออกแบบผลลัพธ์และเข้ามูลน าเข้าทีละส่วนแล้วจึง
ออกแบบแบบจ าลองข้อมูลหลังจากนั้นจึงมีการน าข้อมูลที่มีอยู่ในแต่ละส่วนมารวมกัน
3. การพัฒนาคลังข้อมูลด้วยหลักการพัฒนาแบบผสม (Mixed Data Warehouse
Development) โดยแยกข้อมูลออกเป็นส่วน ๆ แล้วพิจารณาเลือกวิธีการวิเคราะห์และออกแบบที่
เหมาะสมส าหรับข้อมูลแต่ละส่วน แล้วจึงน าเอาแต่ละส่วนที่ได้พัฒนาขึ้นมาแล้วมารวมกันในภายหลัง
การจัดเตรียมข้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูล
ชนวัฒน์ ศรีสอ้าน (2551) ได้อธิบายว่า ข้อมูลที่ให้ในคลังข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ได้มาจาก
หลาย ๆ แหล่ง จึงต้องมีการหาแนวทางที่จะเก็บข้อมูลไว้ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้